Python
Python Learning Resources
Tutorials and online courses can’t cover everything, and whether you’re still in the early stages of learning or already an advanced Python programmer, you’re going to have to refer to the documentation every now and then. Here are some helpful links for finding quick answers to your questions.
ไพธอน (Python)
ไพธอน หรือ Python เป็นภาษาเขียนโปรแกรมระดับสูง (high-level language) ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการเขียนโปรแกรมเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป ภาษาไพธอนนั้นเป็นภาษาแบบการตีความ (interprete) ที่ถูกออกแบบโดยมีปรัญชาที่จะทำให้โค๊ดหรือรหัสทางภาษานั้นอ่านได้ง่ายขึ้น และทำให้โปรแกรมเมอร์สามารถเข้าใจโครงสร้างของภาษาและแนวคิดการเขียนโค๊ดโดยใช้บรรทัดที่น้อยลงกว่าภาษาอื่น เช่น C, C++ และ Java
ไพธอนนั้นมีคุณสมบัติเป็นภาษาเขียนโปรแกรมแบบไดนามิกส์และมีระบบการจัดการหน่วยความจำอัตโนมัติและสนับสนุนการเขียนโปรแกรมหลายรูปแบบ ที่ประกอบไปด้วย การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ imperative การเขียนโปรแกรมแบบฟังก์ชัน และการเขียนโปรแกรมแบบขั้นตอน ภาษาไพธอนมีไลบรารี่ที่ครอบคลุมการทำงานอย่างหลากหลาย ตัวแปรในภาษาไพธอนนั้นมีให้ใช้ในหลายระบบปฏิบัติการ ทำให้โค๊ดของภาษาไพธอน สามารถทำงานในระบบต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งแรกเริ่มนั้นไพธอนถูกพัฒนามาจาก CPython ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบเปิด (open source) และมีชุมชนสำหรับเป็นต้นแบบในการพัฒนา เนื่องจากมันได้มีการนำไปพัฒนากระจายไปอย่างหลากหลาย CPython นั้นจึงถูกจัดการโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งในเวลาต่อมาได้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Python Software Foundation (PSF)
ภาษาไพธอนนั้นถูกสร้างขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ที่ชื่อว่า Guido van Rossum ที่ Centrum Wiskunde & Informatica (CWI) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องในผู้ประสบความสำเร็จในการสร้างภาษา ABC ที่มีความสามารถสำหรับการรับมือกับข้อยกเว้น (exception handling) และการติดต่อผสานกับระบบปฏิบัติการ Amoeba ซึ่ง Van Rossum นั้นเป็นผู้เขียนหลักการของภาษาไพธอน และเขาทำหน้าเป็นกลางในการตัดสินใจสำหรับทิศทางการพัฒนาของภาษาไพธอน
Guido van Rossum - ศาสดาของไพธอน
ปรัชญาของไพธอน
หลักปรัชญาของไพธอนสามารถอธิบายได้ด้วย The Zen of Python
ซึ่งบัญญัติโดย
หากรันคำสั่งไปต่อนี้ใน Python interactive
import this
ซึ่งจะแสดงผล The Zen of Python
ให้เราได้แบบนี้
The Zen of Python, by Tim Peters
Beautiful is better than ugly.
Explicit is better than implicit.
Simple is better than complex.
Complex is better than complicated.
Flat is better than nested.
Sparse is better than dense.
Readability counts.
Special cases aren't special enough to break the rules.
Although practicality beats purity.
Errors should never pass silently.
Unless explicitly silenced.
In the face of ambiguity, refuse the temptation to guess.
There should be one-- and preferably only one --obvious way to do it.
Although that way may not be obvious at first unless you're Dutch.
Now is better than never.
Although never is often better than *right* now.
If the implementation is hard to explain, it's a bad idea.
If the implementation is easy to explain, it may be a good idea.
Namespaces are one honking great idea -- let's do more of those!
แท้จริงแล้วหลักปรัชญาของไพธอนก็คือไพธอนเป็นภาษาที่สามารถสร้างงานได้หลากหลายกระบวนทัศน์ (Multi-paradigm language) โดยจะมองอะไรที่มากกว่าการเขียนโปรแกรมเพื่อนำมาใช้งานตามรูปแบบเดิม ๆ แต่จะเป็นการนำเอาหลักการของกระบวนทัศน์ (Paradigm) แบบเชิงวัตถุ (Object-oriented programming), แบบเชิงโครงสร้าง (Structured programming), แบบฟังก์ชันแนล (Functional programming) และแบบเชิงมุม (Aspect-oriented programming) นำเอามาใช้ทั้งแบบแยกและนำมาใช้ร่วมกัน ซึ่งไพธอนนั้นเป็นภาษาที่มีการตรวจสอบชนิดตัวแปรแบบยืดหยุ่น (dynamically type-checked) และใช้ Garbage collection ในการจัดการหน่วยความจำ
ทำไมต้องไพธอน
1. ง่ายต่อการเรียนรู้
ไพธอนเป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง (High-level programming) มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาโปรแกรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยประถมหรือผู้ใหญ่วัยทำงานก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้ ข้อดีดังกล่าวทำให้เราเน้นความสนใจไปกับการแก้ปัญหาจริงๆ มากขึ้น และช่วยลดเวลาสำหรับการตรวจสอบโครงสร้างและสัญลักษณต่างๆ ของภาษาให้น้อยลง ดังนั้นการเลือกภาษาไพธอนเป็นภาษาแรก จะทำให้ผู้ที่เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลาตั้งแต่การเรียนรู้ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานจริงในระยะเวลาที่เร็วขึ้นได้
2. นำไปใช้งานจริงได้
นอกจากไพธอนจะเป็นภาษาโปรแกรมที่นำมาใช้เพื่อศึกษาการเขียนโปรแกรมแล้ว แต่เราก็สามารถนำไปใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพได้ ทำให้บริษัทและองค์กรใหญ่ระดับโลก เช่น Google, Facebook, YouTube, Netflix, Dropbox, Agoda และ NASA เลือกที่จะนำภาษาไพธอนมาใช้ในการพัฒนาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ โดยมีผู้ใช้งานจริงหลายล้านคนทั่วโลก
3. มีไลบรารีครอบคลุมการใช้งานต่าง ๆ
เนื่องจากภาษาโปรแกรมไพธอนสามารถนำไปพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อตอบสนองความต้องการในงานทางด้านต่างๆ ได้ ทำให้มีนักพัฒนาจำนวนมากต้องการแบ่งปันผลงานร่วมกับนักพัฒนาคนอื่นๆ เพื่อให้ภาษาไพธอนมีความสามารถมากขึ้น โดยมี Python Package Index (PyPI) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมโมดูลและไลบรารีครอบคลุมการใช้งานทางด้านต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ข้อมูล พัฒนาเว็บไซต์ ระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว ระบบเครือข่าย และอื่นๆ อีกมากมาย โดยสามารถเข้าไปค้นหาและดาวน์โหลดโมดูลที่ต้องการได้ที่ https://pypi.org/ หลังจากนั้นก็สามารถนำมาใช้งานในโปรแกรมของเราได้ทันที ภาษาไพธอนมีไลบรารีสำหรับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล
4. งานทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล
ในปัจจุบันงานทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากบนอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีปริมาณข้อมูลระดับมหาศาล (Big Data) ดังนั้นหากเรานำข้อมูลเหล่านี้มาทำวิเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านธุรกิจหรือด้านอื่นๆ จะทำให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งได้ สำหรับภาษาโปรแกรมไพธอนมีไลบรารีที่ครอบคลุมการทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่มีคุณภาพ เป็นที่นิยม และพร้อมใช้งานอยู่จำนวนมาก โดยสามารถแสดงข้อมูลดังตารางด้านล่างนี้
5. เขียนโปรแกรมได้หลายกระบวนทัศน์ (Multi-paradigms programming)
กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม (Programming Paradigm) คือแนวคิดหรือสไตล์ในการเขียนโปรแกรม โดยภาษาไพธอนสนับสนุนการเขียนโปรแกรมได้หลายกระบวนทัศน์ เช่น 1) Imperative programming 2) Event driving programming 3) Object Oriented Programming (OOP) และ 4) Functional programming เป็นต้น ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเขียนโปรแกรมในรูปแบบที่เหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ ได้
6. มีชุมชนนักพัฒนาที่แข็งแกร่ง
ในปัจจุบันภาษาไพธอนได้รับความนิยมสูงอย่างต่อนื่อง ไพธอนมีชุมชนนักพัฒนาจำนวนมาก นอกจากนั้นการเขียนโปรแกรมไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science) เท่านั้น แต่ผู้ที่ทำงานสาขาอื่นก็อาจมีความต้องการจะนำไปใช้ประโยชน์ในงานทางด้านอื่นๆ ด้วย ทำให้มีชุมชนนักพัฒนาที่ใช้งานภาษาไพธอนเกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก หากต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ก็มีเนื้อหาที่มีคุณภาพในรูปแบบต่างๆ เช่น วิดีโอ หนังสือ บทความ และเอกสารบนอินเทอร์เน็ตให้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้ ถ้าหากติดปัญหาใดๆ ก็สามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาของคนที่เคยพบปัญหามาก่อน หรืออาจจะขอความช่วยเหลือจากสังคมนักพัฒนาที่ชอบแบ่งปันข้อมูลความรู้ระหว่างกันและกันบนอินเทอร์เน็ต เช่น Stack Overflow และ Quora
7. ทำงานได้หลายแพลตฟอร์ม
แม้ว่าในช่วงแรกภาษาไพธอนได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Unix เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนาให้สามารถนำไปใช้งานได้หลายระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้ด้วย เช่น Windows Mac และ Linux ดังนั้นนักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมเพียงครั้งเดียว แต่สามารถนำไปใช้งานบนคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ทำให้ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ทดสอบ และบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ให้สามารถใช้งานเป็นปกติได้ทุกระบบปฏิบัติการ นักพัฒนาภาษาไพธอนมีรายได้ดีและเป็นที่ต้องการขององค์กรต่างๆ 8.รายได้ดีและเป็นที่ต้องการขององค์กรต่างๆ นักพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาไพธอนเป็นที่ต้องการในสายงานทางด้านพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างมาก โดยข้อมูลล่าสุดของเว็บไซต์ https://indeed.com (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี 2018) ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีอัตราการจ้างงานนักพัฒนาด้วยภาษาไพธอนจำนวนมาก โดยมีรายได้เฉลี่ยสูงถึงประมาณ $120,432 เหรียญ/ปี ดังนั้นผู้ที่เขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอนได้ ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเอง และมีโอกาสในการทำงานกับองค์กรทุกระดับได้
8. สามารถนำไปใช้งานได้ฟรี
ภาษาไพธอนยังเป็นซอฟต์แวร์ประเภทโอเพนซอร์ส (Opensource) หมายความว่าเราสามารถนำซอร์สโค้ด (Source code) มาดัดแปลง แก้ไขได้ทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาต และที่สำคัญเราสามารถนำไปใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องค่าลิขสิทธิ์ใดๆ
ที่มาของชื่อ “ไพธอน”
คำว่าไพธอน (python) เป็นชื่องูสกุลหนึ่ง ซึ่งในภาษาไทยเรียกว่า “งูเหลือม” หรือ “งูหลาม” เป็นงูไม่มีพิษ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าสกุล Pythonidae รากศัพท์เดิมมาจากภาษากรีกคำว่า πύθων อ่านแบบกรีกโบราณว่า “ปือทอน” อ่านแบบกรีกสมัยใหม่ว่า “พีโธน” แต่พอมาใช้ในภาษาอังกฤษก็แผลงเป็น “ไพธอน”
“ปือทอน” เป็นชื่อของงูยักษ์รูปร่างคล้ายมังกร ซึ่งปรากฏตัวในเทพปกรณัมกรีก แต่ตอนหลังถูกนำมาใช้เป็นชื่อเรียกงูที่มีอยู่จริง อนึ่ง อักษร “ธ” ในการเขียนทับศัพท์คำว่า “ไพธอน” ในที่นี้ไม่ได้แทนเสียง “ท” แต่แทนเสียง th ในภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่เหมือน th ในภาษาไทย แต่เป็นเสียงที่ไม่มีอยู่ในภาษาไทย เสียงนี้จริงๆแล้วใกล้เคียง “ซ” มากกว่า “ท” เสียอีก ในภาษากรีกใช้อักษร θ “เธตา” อย่างไรก็ตามกรีกโบราณไม่มีเสียงนี้ แต่ออกเสียง θ เป็นเสียง “ท” แทน
สัญลักษณ์ของภาษาไพธอนใช้เป็นรูปงูสองตัวพันกัน ตัวหนึ่งสีเหลือง อีกตัวหนึ่งสีน้ำเงิน
เวอร์ชันของไพธอน
หลังจากที่เริ่มถูกปล่อยออกมาให้ใช้ ภาษาไพธอนก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ มีการปรับปรุงเวอร์ชันใหม่อยู่บ่อยๆ ปัจจุบันออกมาถึงเวอร์ชัน 3. กว่า ๆ อย่างไรก็ตามเวอร์ชัน 2. กว่าๆก็ยังคงเป็นที่นิยมมากกว่า ดังนั้นจึงควรจะทำความรู้จักไว้ทั้งสองแบบ
ไพธอน 2 นั้นเริ่มถูกปล่อยออกมาในปี 2000 ส่วนไพธอน 3 เริ่มถูกปล่อยออกมาในปี 2008 เวอร์ชัน 3 มีการปรับปรุงอะไรต่างๆให้ดีขึ้นจาก 2 ไปพอสมควร แต่เนื่องจากสูญเสียความเข้ากันได้กับเวอร์ชัน 2 หมายความว่าคนที่เคยเขียนไพธอน 2 มาพอจะเปลี่ยนมาไพธอน 3 จำเป็นจะต้องแก้ไขโค้ด ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถอ่านได้ หรือแสดงผลผิดพลาด นั่นทำให้ยังมีผู้ที่ใช้ไพธอน 2 มานานและไม่อยากจะเปลี่ยนอีกเป็นจำนวนมาก แม้จะผ่านมาหลายปีแล้วแนวโน้มก็ยังคงเป็นเช่นนี้อยู่ ภายหลังจากที่มีการออกเวอร์ชัน 3. ไปแล้ว เวอร์ชัน 2. ก็ยังคงมีการปรับปรุงพัฒนาต่อเนื่องมา โดยมีเวอร์ชัน 2.7 ออกมาในปี 2010 โดยนำเอาความสามารถบางส่วนจากไพธอน 3 มาใช้ และถูกวางให้เป็นรุ่นสุดท้ายที่ขึ้นต้นด้วย 2.
ปัจจุบันไพธอน 2.7 ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะในปัจจุบันโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้ภาษาไพธอนยังสนับสนุนเวอร์ชัน 2.x เป็นหลักอยู่ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในอนาคตเวอร์ชัน 3.x จะได้รับการสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ฝึกใช้ใหม่ๆมักถูกแนะนำให้ใช้ 3.x มากกว่า ดังนั้นบทความนี้จะเน้นเวอร์ชัน 3.x เป็นหลัก แต่เพื่อให้คนที่ต้องการใช้ไพธอน 2 สามารถอ่านแล้วอ้างอิงตามได้ด้วย จึงได้เขียนสรุปเรื่องความแตกต่างตรงนี้แยกเอาไว้ สามารถอ่านได้ที่ https://phyblas.hinaboshi.com/20151217
ไพธอนถูกใช้เพื่อสร้างอะไรมาแล้วบ้าง
- โปรแกรมฟรี เช่น BitTorrent, Dropbox, Blender
- ส่วนประกอบของเว็บไซต์ต่างๆเช่น Google, Yahoo!, YouTube
- โปรแกรมที่ใช้ในหน่วยงานวิจัย เช่น NASA, องค์กรวิจัยเครื่องเร่งพลังงานสูงของญี่ปุ่น (高エネルギー加速器研究機構)
- ฯลฯ
การใช้งานภาษาไพธอน
ไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไรก็ตาม การที่จะทำงานได้นั้นต้องประกอบไปด้วยโปรแกรมที่ใช้ในการอ่านตีความหมายของ สิ่งที่เราเขียนลงไปให้กลายเป็นภาษาเครื่องเพื่อให้มันทำงานตามที่เราต้องการ หากให้เปรียบเทียบก็เหมือนกับการแปลงภาษามนุษย์นั่นเอง สมมุติว่ามีนายทุนคนหนึ่งไปเปิดโรงงานในต่างประเทศ โรงงานจะทำงานได้ต้องใช้คนงาน แต่พวกคนงานที่นั่นเขาไม่รู้ภาษาไทย และนายทุนก็ไม่รู้ภาษาอังกฤษ นายทุนจะสั่งงานพวกคนงานให้ทำงานอย่างที่ตัวเองต้องการก็ต้องทำผ่านล่ามให้ ช่วยแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อจะได้สั่งคนงานได้
ในกรณีนี้ภาษาไพธอนก็เทียบได้กับภาษาไทย คือเป็นภาษาง่ายๆที่เราเข้าใจดีอยู่แล้ว แต่ว่าไม่สามารถนำไปสั่งงานได้โดยตรง ส่วนภาษาอังกฤษก็เทียบได้กับภาษาเครื่อง คือเป็นภาษาที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงแต่เราไม่เข้าใจ โดยคนงานก็เทียบได้กับคอมพิวเตอร์ นายทุนเปรียบได้กับผู้เขียนโปรแกรม ส่วนล่ามก็เปรียบได้กับตัวแปรภาษาในคอมพิวเตอร์ ตัวที่ทำหน้าที่ตีความภาษาจะเรียกว่าคอมไพเลอร์ (compiler)
นอกจากคอมไพเลอร์แล้ว ส่วนประกอบที่สำคัญอีกอย่างรองลงมาก็คือส่วนที่เอาไว้ใช้สำหรับเขียนข้อความลงไป ซึ่งเรียกว่าอีดิเตอร์ (editor) เหมือนกับเราเขียนข้อความในกระดาษบอกล่ามไปทีเดียวเลยว่าต้องการให้ทำอะไรบ้าง แล้วล่ามก็เอาไปบอกคนงานทีเดียว ไม่ต้องคอยสั่งทีละประโยค อีดิเตอร์กับคอมไพเลอร์อาจไม่จำเป็นต้องอยู่ภายในโปรแกรมเดียวกัน เราอาจเขียนโค้ดผ่านโปรแกรมง่ายๆเช่น notepad จากนั้นค่อยนำไปรันก็ได้ ดังนั้น ดังนั้นอีดิเตอร์จึงไม่มีความสำคัญเท่าคอมไพเลอร์
อย่างไรก็ตาม โปรแกรมที่ใช้ทำงานกับภาษาไพธอนนั้นมักจะประกอบไปด้วยอีดิเตอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้การเขียนง่ายขึ้น เช่นมีการใส่สีให้ข้อความสำคัญ และมีตัวตรวจไวยากรณ์ทำให้มีการฟ้องเวลาเจอข้อผิดพลาดทางวากยสัมพันธ์ (syntax error) ในขณะที่หากเขียนใน notepad จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าผิดตรงไหน นอกจากนี้ยังมีตัวตรวจบั๊ก (debugger) ซึ่งมีไว้ค้นหาข้อผิดพลาดในการทำงานของโปรแกรม
นอกจากการเขียนโปรแกรมและให้คอมไพเลอร์อ่านแล้ว ในบางภาษาซึ่งรวมถึงภาษาไพธอนด้วยนั้นยังมีอีกวิธีหนึ่งในการใช้งาน นั่นคือการสั่งให้ทำงานแบบคำต่อคำ ซึ่งก็เทียบได้กับการที่นายทุน สั่งล่ามแล้วล่ามก็ไปสั่งคนงานทันทีโดยตรง แล้วคนงานก็เริ่มทำงาน พอทำเสร็จนายทุนก็สั่งงานต่อไปอีกทันที ส่วนที่ใช้สั่งงานโปรแกรมแบบคำต่อคำนั้นเรียกว่า เชลโต้ตอบ (interactive shell) และในกรณีนี้ตัวประมวลผลจะถูกเรียกว่าอินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter) ข้อดีคือเห็นผลทันทีอย่างรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องเซฟแล้วค่อยสั่งรัน แต่ข้อเสียคือใส่คำสั่งได้ทีละนิดและต้องสั่งไปเรื่อยๆ ไม่สามารถสั่งงานทิ้งไว้แล้วให้ทำงานยาวๆได้
สรุปโดยรวม สิ่งที่ต้องมีเพื่อจะทำงานกับภาษาไพธอนก็คือ
- คอมไพเลอร์ ไว้ตีความโค้ดที่เราเขียนเพื่อสั่งให้คอมทำงาน
- อีดิเตอร์ เอาไว้เขียนโค้ดยาวๆเพื่อให้คอมไพเลอร์อ่านแล้วสั่งคอมอีกที
- เชลโต้ตอบ เอาไว้ป้อนโค้ดเพื่อสั่งการคอมทันที
ควรจะเริ่มต้นยังไงดี
ก่อนอื่นต้องตั้งเป้าว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ถ้าเรียนรู้แล้วไปได้ไกลจริงๆก็สามารถเขียนโปรแกรมอะไรต่างๆได้แทบทุกอย่าง เช่นสร้างโปรแกรมออกมาใช้เองหรือแจกคนอื่น หรือจะสร้างเกมก็สร้างได้ และถ้าทำได้ดีอาจทำขายได้ แล้วก็ดัง…! อาจดูเพ้อฝันไปสักหน่อย แต่มองเป้าหมายไกลๆไว้ก่อนก็ไม่มีอะไรเสียหาย เพียงแต่ต้องรู้ว่ากว่าจะถึงตอนนั้นต้องผ่านขั้นตอนอะไรมาบ้าง ไม่ว่าอะไรก็ตามต้องเริ่มต้นจากศูนย์กันหมด หากมีพื้นฐานมาแล้วก็ไปได้เร็วขึ้น
โอกาส ที่วิเศษนั้นอาจซ่อนแฝงอยู่ภายในปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนกับว่าไม่มีอะไร แต่มันจะปรากฏให้เห็นได้เฉพาะคนที่มีเป้าหมายในใจอย่างแรงกล้าเท่านั้น
แหล่งศึกษาสำหรับผู้เริ่มต้น
MascusCode
- เว็บไซต์ MarcusCode มีบทเรียนในการเขียนโปรแกรมในภาษา Python ในพื้นฐานจนถึงระดับสูงแยกตามบท ซึ่งเนื้อหาที่เว็บไซต์นี้สอนนั้นจะกระชับและตรงประเด็น ทำให้ผู้ที่ศึกษาตามสามารถเข้าใจถึงหลักการของภาษาไพธอนได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างของเนื้อหาที่สอน เช่น โครงสร้างของภาษาไพธอน ตัวแปรและประเภทข้อมูล ตัวดำเนินการ อาเรย์และฟังก์ชัน
- Link: http://marcuscode.com/lang/python
Google for Education
- เรียนไพธอนที่กูเกิลสำหรับการศึกษา (Google for Education) ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจ ศึกษาไพธอนกับองค์กรระดับโลกอย่างกูเกิล มีทั้งตัวอย่างของโค๊ดและวิดีโอสอน นอกจากนี้ยังช่วยให้เราฝึกภาษาอังกฤษอีกด้วย
- Link: https://developers.google.com/edu/python/
เว็บไซต์ Dot Python
- เว็บไซต์สอนภาษาไพธอนที่แบ่งเนื้อหาออกเป็นหมวดหมู่ สามารถอ่านและศึกษาตามได้อย่างง่าย ๆ สอนโดยคุณทวีรัตน์ นวลช่วย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
- Link: https://sites.google.com/site/dotpython/
เว็บบล็อก PhyBlas
- เว็บไซต์ที่สอนเนื้อหาไพธอนที่อธิบายและยกตัวอย่างได้เห็นภาพ เหมาะกับผู้เริ่มต้นเป็นอย่างยิ่ง
- Link: https://phyblas.hinaboshi.com/saraban/python
บล็อก python3.wannaphong
- สอนพื้นฐานภาษาไพธอน โดย วรรณพงษ์ ภัททิยไพบูลย์
- Link: https://python3.wannaphong.com/p/blog-page_7.html
Free Code Camp ได้เผยแพร่ไว้ในบทความ “# The Best Python Tutorials” ดังนี้
Python Practice Book: http://anandology.com/python-practice-book/index.html
Think Python: http://greenteapress.com/thinkpython/html/index.html
Practical Business Python: http://pbpython.com/
Another course: https://realpython.com/?utmsource=fsp&utmmedium=promo&utm_campaign=bestresources
General: https://www.fullstackpython.com/
Learn the Basics: https://www.codecademy.com/learn/learn-python
Computer science using Python: https://www.edx.org/course/introduction-computer-science-mitx-6-00-1x-11?ref=hackernoon#!
List of more resources for learning python: https://github.com/vinta/awesome-python
Interactive Python: http://interactivepython.org/runestone/static/thinkcspy/index.html
Developer’s Guide to Python: https://devguide.python.org/
Reference :